ไปที่หน้าเวบ SYSTEM-OF-BIO

๐ พลังงานทดแทน

         ๐ พลังงานทดแทน

         ๐ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

         ๐ พลังงานทดแทนแต่ละชนิด

        ๐ พลังงานแสงอาทิตย์

        ๐ พลังงานลม

        ๐ พลังงานน้ำ

        ๐ พลังงานคลื่น

        ๐ พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง

        ๐ พลังงานชีวมวล

        ๐ พลังงานความร้อนใต้พิภพ

        ๐ เซลล์เชื้อเพลิง

        ๐ พลังงานนิวเคลียร์

 

(กดเลือกหัวข้อที่ต้องการศึกษา)

 

 

พลังงานลม

 

• ลมเป็นแหล่งพลังงานที่พบได้ทั่วไป
• อัตราเร็วลมเฉลี่ยในไทยอยู่ในระดับต่ำ 4 เมตรต่อ วินาที
• ประโยชน์ของพลังงานจากลม  เช่น กังหันลมสูบน้ำ กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า
• พบทั้งสองแบบที่นครศรีธรรมราช
• การเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำได้โดยเมื่อลมพัดจนใบพัดของกังหันลมหมุน
• แกนของกังหันจะทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน เกิดพลังงานไฟฟ้า

 

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

•ลักษณะทั่วไปของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคือ มีด้วยกัน 2 ชนิด ซึ่งมีหลักการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ชนิดกระแสตรงเรียกว่า ไดนาโม (Dynamo)

      เครื่องไดนาโม (Dynamo)คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง โดยมีหลักการทำงานคือนำขดลวดอาร์เมเจอร์และขดลวดสนามแม่เหล็กที่เคลื่อนที่ตัดผ่านมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าออกมา โดยให้ขดลวดอาร์เมเจอร์จะเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก และให้ขดลวดแม่เหล็กเป็นส่วนที่อยู่กับที่

2. ชนิดกระแสสลับเรียกว่า อัลเตอร์เนเตอร์ (Alternator)

      สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ หรือ Alternatorคือ มีหลักการการทำงานคือเหมือนกับเครื่องไดนาโมเลย แต่แตกต่างกันตรงที่วิธีการตัดผ่านสนามแม่เหล็ก โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับคือการอาศัยตัวนำในอาร์เมเจอร์หมุนตัดสนามตำที่ขั้วแม่เหล็ก และสนามแม่เหล็กที่ขั้วแม่เหล็กหมุนตัดตัวนำในอาร์เมเจอร์อีกที หรือจะให้ขดลวดอาร์เมเจอร์หมุนหรืออยู่กับที่ก็ได้ ซึ่งต่างจากไดนาโมคือขดลวดสนามแม่เหล็กอยู่กับที่ และขดลวดอาร์เมเจอร์เป็นส่วนหมุน โดยประโยชน์ก็คือสามารถจ่ายไฟฟ้าไปยังโหลดได้โดยตรงโดยไม่ต้องแปรงถ่าน รวมถึงสามารถผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้ค่อนข้างสูง

 

การนำพลังงานลมมาใช้ในการสูบน้ำ

 

 

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา

เอกสารอ้างอิง

หนังสือรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่ม2 ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางปี 2551